 เนื่องจากประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศที่มีอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี การใช้
"เครื่องปรับอากาศ"เพื่อทำความเย็นให้เกิดความรู้สึกสบายแก่ผู้อาศัยในบ้านพักที่อยู่ในเมื่องใหญ่ๆ หรือตามชานเมือง จึงได้รับความนิยมมาก แต่เครื่องปรับอากาศเป็น เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง
ผู้ใช้จึงต้องตระหนักถึงการจ่ายค่าไฟฟ้าที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นการที่จะอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย
ต่อความสุขสบายของผู้ใช้ และประหยัดค่าใช้จ่าย
เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ใช้เองและต่อ ประเทศชาติโดยส่วนรวมนั้น
จำเป็นต้องทราบถึงลักษณะการทำงานของเครื่องปรับอากาศ แต่ละชนิด
การเลือกชนิดและขนาดของเครื่องให้เหมาะสมกับห้อง ตลอดจนต้องทราบถึง การติดตั้ง
การใช้งาน และการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีด้วย อุปกรณ์ต่างๆ
ภายในเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศของบ้านพักาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ
9 อย่างดังนี้ 1. แผงท่อทำความเย็น (Cooling coil) 2. คอมเพรสเซอร์
(Compressor) 3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser coil) 4. พัดลมส่งลมเย็น
(Blower) 5. พัดลมระบายความร้อน (Condenser fan) 6. แผ่นกรองอากาศ (Air
filter) 7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver) 8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้อง
ตั้งความเร็วของพัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการ ทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัว เครื่องปรับอากาศเอง
หรือแยกเป็นอุปกรณ์ ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการ ควบคุมระยะไกล (Remote control) จากบริเวณอื่นๆ ภาย ในห้องปรับอากาศ
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น
(Metering
device)
หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ การทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศต้องอาศัยสารทำความเย็น
ซึ่งเป็นสารที่ไม่ มีกลิ่น สี และรส
วัฎจักรการทำความเย็นเริ่มจากผู้ใช้เครื่องปรับอากาศ สารทำความเย็น
เหลวในปริมาณพอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความ
เย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้อง
พัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่น กรองอากาศ
ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ออกไป
จากนั้นอากาศร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความ เย็น
ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง
โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง
สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจาก
อากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์
ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร
พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น
ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับ เป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง
และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำ
ความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักรเช่นนี้ตลอดเวลา
จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่เราตั้งไว้
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง
จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้
แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่ง ลมให้ภายในห้อง
จนเมื่อความร้อนจากร่างกายของผู้ที่อยู่ในห้องเริ่มทำให้คอมเพรสเซอร์ทำ
งานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ ดังนั้นถ้าเราตั้งอุณหภูมิที่อุปกรณืควบคุมไม่ให้ต่ำมากคือ
ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะ ช่วยประยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25 ํ C
หลักการทำความเย็นในลักาณธนี้ จะต้องทำให้ห้องที่จะทำการปรับอากาศนั้นอยู่
ในสภาพที่เป็นระบบปิดเสมือนเป็นกล่องใบหนึ่งคือ
ต้องปิดประตูและหน้าต่างทุกบานให้มิด ชิดอย่าให้มีอากาศรั่วเข้าออกได้
เครื่องปรับอากาศจะทำงานโดยรับความร้อนและความชื้น
จากภายในห้องไปปรับจนเย็นถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้
ซึ่งยังมีผู้ใช้เครื่องปรับอากาศผิดๆ โดยเปิด
เครื่องปรับอากาศและยังคงเปิดประตูหรือหน้าต่างไว้ ซึ่งทำให้อากาศและความชื้นจากภาย
นอกห้องไหลเข้ามาภายในห้องตลอดเวลา จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานตลอดเวลาเช่น กัน
และทำให้ห้องเย็นไม่ถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ จึงสิ้นเปลืองพลังงาน
กล่าวโดยสรุปก็คือ
เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่พาความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ต่างๆ
ของบ้านพักอาศัยผ่านทางแผงท่อทำความเย็นออกไปทิ้งภายนอกอาคารโดยผ่านทาง
แผงท่อระบายความร้อนนั้นเอง หากการพาความไปทิ้งนี้เกิดขึ้นได้สะดวก ห้องต่างๆ ก็จะ
เย็นได้รวดเร็วและสิ้นเปลืองไฟฟ้าน้อยด้วย
ขนาดการทำความเย็นและชนิดของเครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป
มักมีขนาดการทำความเย็นระหว่าง 9,000- 30,000 บีทียู/ชม. (Btu/h) หรือ 0.75-2.5
ตันความเย็น (1 ตันความเย็น = 12,000 บีทียู /ชม.) เครื่องที่นิยมใช้กันมี 2 ชนิด
คือ 1. เครื่องแบบแยกส่วน มีขนาดตั้งแต่ 9,000-30,000 บีทียู/ชม.
ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan
coil unit) มีหน้าที่ทำความเย็นพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ
หน้ากากพร้อมเกล็ดกระจายลมเย็น และอุปกรณ์ ควบคุมอีกส่วนหนึ่งติดตั้งภายนอกห้อง
เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing unit) ประกอบ
ด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อน เครื่องทั้ง
สองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น
เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านใน
เมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่
หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อน ข้างยาว
หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง
เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส
ส่วน เครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น
ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก
2. เครื่องแบบติดหน้าต่าง
มีขนาดตั้งแต่ 9,000-24,000 บีทียู/ชม. เหมาะ สำหรับอาคารที่เป็นตึกแถว
หรือทาวน์เฮาส์ซึ่งไม่อาจติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิตได้เพราะไม่มีสถานที่ติด ตั้ง
หรือสถานที่นั้นไม่เพียงพอ เช่น ความกว้างของกันสาดแคบเกินไป เป็นต้น มักติดที่วง
กบช่องแสงเหนือบานหน้าต่างห้อง
การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ
ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ
จากค่าต่อไปนี้ 1. ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร.ม./ตันความเย็น 2.
ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร.ม./ตันความเย็น 3.
ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่ง ประมาณ 23
ตร.ม./ตันความเย็น
การปรับปรุงอาคารก่อนการติดตั้งระบบปรับอากาศ เพื่อให้เครื่องปรับอากาศที่ซื้อมาสามารถทำความเย็นได้อย่างเต็มที่และประหยัด
พลังงาน ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมรอบตัวบ้านและห้องที่จะติดตั้ง ดังนี้ 1.
หากห้องที่ทำการปรับอากาศ มีกระจกส่วนใหญ่หันไปทางทิศตะวันออก ทิศ
ตะวันตกหรือทิศใต้ ควรปลูกต้นไม้ใหญ่บังแดดให้ผืนกระจก
นอกจากนี้ต้นไม้ยังทำให้ อากาศนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำลง
ช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ห้องอีกด้วย 2.
หากไม่สามารถปลุกต้นไม้ได้ ควรติดตั้งกันสาดที่ด้านนอกอาคารหรือติดผ้า
ม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนที่สามารถปรับมุมใบเกล็ดไว้ด้านหลังกระจกด้านทิศตะวันออก
ทิศตะวันตกและ ทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้แสงแดดส่องผ่านแผ่นกระจกเข้ามาในห้อง 3.
เหนือฝ้าเพดานที่เป็นหลังคา หากสามารถปูแผ่นใยแก้วที่มีความหนา 1 นิ้ว ชนิดมีแผ่นฟอยล์
(Aluminum foil) หุ้มแผ่นใยแก้วไว้ทั้งหมดเหนือแผ่นฝ้า จะช่วยลดการ
ส่งผ่านรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้าสู่ห้องที่มีการปรับอากาศได้ 4.
พัดลมระบายอากาศของห้องอาหาร ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ที่มีการปรับอากาศ ต้องมีขนาดไม่เกิน 6
นิ้ว และเปิดเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น เพื่อระบายกลิ่นอาหาร หรือควันบุหรี่
เพื่อป้องกันมิให้มีการดูดเอาอากาศเย็นภายในห้องทิ้งออกไปมากเกินควร
ทำให้ห้องไม่เย็น และเครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก
ควรสูบบุหรี่นอกห้องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้อากาศภายในห้องสกปรก 5.
ภายในห้องนอนไม่ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ หากมีห้องน้ำติดกับห้องนอน
อาจติดพัดลมระบายอากาศที่มีขนาดไม่เกิน 6 นิ้วไว้ภายในห้องน้ำก้ได้ แต่ควรเปิดเฉพาะ
เมื่อมีการใช้ห้องน้ำเท่านั้น 6. ควรอุดรูรั่วรอบห้องให้สนิท
เพื่อป้องกันมิให้อากาศร้อนภายนอกรั่วซึมเข้า สู่ห้อง หน้าต่างบานเกล็ด
ไม่ว่าจะเป็นบานเกล็ดไม้หรือเกล็ดกระจก มักมีช่องว่างระหว่างแผ่นเกล็ด มาก
ควรแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ 7. ควรทาสีผยังภายนอกอาคารด้วยสีขาวหรืออ่อน
จะช่วยลดการนำความร้อน
ผ่านผนังได้ดี
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ 1.
ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีเครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักทั่วไป
เพราะเป็นเครื่องที่มี
คุณภาพสามารถเชื่อถือปริมาณความเย็นและพิจารณาการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าของตัว
เครื่องที่ปรากฏอยู่ในแคตตาล็อคผู้ผลิตเป็นสำคัญ 2.
หากเครื่องที่ต้องการซื้อมีขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชม. ควรเลือกเครื่องที่
ผ่านการรับรองการใช้พลังงานไฟฟ้าหมายเลข 5
ซึ่งแสดงว่าเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
โดยมีฉลากปิดที่ตัวเครื่องให้เห็นได้อย่างชัดเจน 3.
ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ให้เลือก
เครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตันความเย็นหรือมีค่า EER (Energy
Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์
โดยดูจากแคตตาล็อคผู้ผลิต
คุณลักษณะเฉพาะ |
เครื่องปรับอากาศ แบบแยกส่วน |
ชนิดติดผนัง |
ชนิดควบคุมด้วย รีโมทแบบไร้สาย |
ชนิดควบคุมด้วย รีโมทแบบมีสาย |
ความสามารถ ในการทำความเย็น
|
Btu/hr |
13,000 |
13,000 |
13,000 |
อัตราการไหลของอากาศ |
CFM |
400 |
450 |
450 |
แหล่งจ่ายไฟ (V/Ph/Hz) |
|
220/1/50 |
220-240/1/50 |
220-240/1/50 |
ค่าอัตราส่วน ประสิทธิภาพพลังงาน(EER)
|
Btuh/W |
11.64 |
12.24 |
11.46 |
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ผิดวิธี
โดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจาก จะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้ว
สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วย
จึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้ กันมากที่สุด
จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ
ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
2.
หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอรืไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling coil)
ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว
หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับ
อากาศภายนอกตามเส้นท่อ
3.
ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ควรอยู่ในที่ร่ม
ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศภายนอกสามารถท่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม
หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

4.ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต
(หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆ ชุด
ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง
ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก
5.
ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต
(หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ให้อากาศร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ
กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก 6.
ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง) ต้องให้ลมเย็นที่จ่าย
ออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง
การใช้งานเครื่องปรับอากาศ
การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง
ช่วยให้เครื่องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงานไฟฟ้า
สามารถทำโดยวิธีการดังต่อไปนี้  1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม
ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และห้องอาหาร อาจตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า 25 ํ C
สำหรับห้องนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสูงกว่านี้ได้
ทั้งนี้เพราะร่างกายมนุษย์ขณะหลับมิได้เคลื่อนไหว อีกทั้งการคายเหงื่อก็ลดลง หากปรับอุณหภูมิ
เป็น 26-28 ํ C ก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนเกินไป แต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ
15-20  2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
หากสามารถทราบเวลาที่แน่นอน ควรตั้งเวลาการทำงานของตัวเครื่องไว้ล่วงหน้า
เพื่อให้เครื่องหยุดเองโดยอัตโนมัติ
 3.
อย่านำสิ่งของไปกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเดนซิ่งยูนิตจะทำให้
เครื่องระบายความร้อนไม่ออก และต้องทำงานหนักมากขึ้น  4.
อย่านำรูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเข้าและลมออกของแฟนคอยล์ยูนิต จะ
ทำให้ห้องไม่เย็น  5. ควรเปิดหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการ ใช้งานเท่านั้น และปิดทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จ
เพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะ เปิดใช้งาน
จะมีความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น  6.
หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหน้าร้อนจัด เช่น เตาไฟฟ้า
กะทะร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องที่มีการปรับอากาศ
ควรปรุงอาหารในครัว แล้วจึงนำเข้ามารับประทานภายในห้อง  7.
ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้องหรือก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศสัก 2 ชั่วโมง ควรเปิด
ประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าในห้อง
จะช่วยลดกลิ่นต่าง ๆ
ให้น้อยลงโดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซื่งจะทำให้เครื่องปรับ
อากาศทำงานหนักขึ้น
 8. ควรปิดประตู
หน้าต่างให้สนิทขณะใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันมิให้
อากาศร้อนขื้นจากภายนอกเข้ามา อันจะทำให้เครื่องต้องทำงานมากขึ้น  9.
ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศเพราะความชื้น
จากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เครื่องต้องทำงานหนักขึ้น
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
การบำรุงรักษาที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ
ทำให้เครื่องปรับอากศมีอายุใช้งานได้ยาว นาน มีประสิทธิภาพสูง
และประหยัดพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้  1.
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องสามารถ
จ่ายความเย็นได้เต็มที่ตลอดเวลา  2.
หมั่นทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นด้วยแปรงนิ่ม ๆ และน้ำผสมสบู่เหลว
อย่างอ่อนทุก 6 เดือน
เพื่อให้เครื่องทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  3.
ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็นด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่จับ
กันเป็นแผ่นแข็งและติดกันอยู่ตามซี่ใบพัดทุก6 เดือน
จะทำให้พัดลมส่งลมได้เต็มสมรรถนะ ตลอดเวลา  4.
ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน โดยการใช้เแปรงนิ่ม ๆ และน้ำฉีด ล้างทุก
ๆ 6 เดือน เพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อนภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศ
ภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 5.
หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะสารทำความเย็นรั่วต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้ว
ทำการแก้ไขพร้อมเติมให้เต็มโดยเร็ว
มิฉะนั้นเครื่องจะใช้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่ทำให้เกิดความ เย็นแต่อย่างไร  6.
ตรวจสอบฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้เกิดฉีกขาด
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน |