ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมสืบสานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ (สะหลี) ชุมชนบ้านดงหลวง ส่งเสริมนโยบายซอฟเพาเวอร์ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยวให้เป็นที่ประจักษ์

ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมสืบสานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ (สะหลี) ชุมชนบ้านดงหลวง ส่งเสริมนโยบายซอฟเพาเวอร์ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยวของให้เป็นที่ประจักษ์

     วันที่ 17 เมษายน 2567 ที่วัดบ้านดงหลวง ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ (สะหลี) ชุมชนบ้านดงหลวง ส่งเสริมให้ศรัทธาประชาชนได้ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชนและสนับสนุนส่งเสริมนโยบายซอฟเพาเวอร์ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยวของภาครัฐ ให้เป็นที่ประจักษ์ โดยมีพระครูสุตกัลยาณกิจ เจ้าอาวาสวัดบ้านดงหลวง เจ้าคณะตําบลวังผาง นายอำเภอเวียงหนองล่อง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และศรัทธาประชาชน บ้านดงหลวง เข้าร่วม

     การแห่ไม้ค้ำสะหลี หรือการแห่ไม้ค้ำต้นโพธิ์ โดยคำว่า 'สะหลี' เป็นภาษาล้านนา (หมายถึงต้นโพธิ์) มาจากคำว่า 'ศรี' หมายถึง ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ ต้นประเสริฐ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เป็นพิธีกรรมความเชื่อว่าการนำไม้ไปค้ำที่ต้นโพธิ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา จะช่วยคำจุนชีวิตให้ประสบสิ่งดีงาม เป็นมงคลแก่ชีวิตตลอดปี ตามชื่อคือค้ำจุน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแห่งชีวิต ซึ่งไม้ค้ำดังกล่าว อาจได้มาจากไม้ง่ามที่ใช้ในพิธีสืบชาตาหรือไม้ค้ำที่จัดหาขึ้นเป็นกรณีพิเศษก็ได้ หรืออีกความเชื่อหนึ่งคือการที่ได้นำเอาไม้ค้ำไปค้ำที่ต้นไม้สะหลีหรือต้นโพธิ์นี้ เป็นเชิงสัญลักษณ์ หมายความว่า ผู้นั้นมีส่วนในการค้ำชูพระพุทธศาสนา ไปในคราวเดียวกันด้วย

     ปัจจุบันประเพณีที่การแห่ไม้ค้ำสะหลี มีหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ทำเป็นงานยิ่งใหญ่จริงๆ ก็ยิ่งเหลือน้อยไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ จะทำกันในช่วงปีใหม่เมือง หรือช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ประชาชนตำบลวังผาง โดยเฉพาะวัดบ้านดงหลวงทำกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน และในช่วง 15 ปีมานี้ทางวัดและชุมชน มีการจัดแห่รูปแบบขบวนไม้ค้ำ ผสมผสานแนวคิดการรณรงค์แก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งแวดล้อม ลดการดื่มของมึนเมา ตลอดจนสะท้อนแนวคิด สภาพปัญหาในชุมชน เสนอผ่านรูปแบบขบวน โดยให้แต่ละขบวนจัดรูปแบบตามหัวข้อต่างๆ ที่ทางวัดและชุมชนได้กำหนดขึ้น ผสมผสานแนวคิด วิถีชีวิต ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณ ดังปรากฏตามขบวนต่างๆ ดังเป็นที่ประจักษ์

     ประกอบกับปัจจุบันชุมชนวัดบ้านดงหลวง ได้รับเลือกเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบของจังหวัดลำพูน/ เป็นหมู่บ้านรักษาศีลห้าต้นแบบของจังหวัดลำพูน และอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดลำพูน ในเส้นทางที่ 2 ด้วย ถือเป็นการต่อยอดทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้ชุมชนมีรายได้ เพื่อการสืบสานประเพณีอย่างยั่งยืนในคราวและส่งเสริมให้ศรัทธาประชาชนได้ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชุมชนและสนับสนุนส่งเสริมนโยบายซอฟเพาเวอร์ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยว ของภาครัฐ ให้เป็นที่ประจักษ์ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้รักสามัคคี โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นตัวขับเคลื่อน และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ตามหลัก “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง) ผ่านทางวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

     ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมในการสืบสานศรัทธา และวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน อันเกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน เป็นความเข้มแข็งที่เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่ยังคงดำรงสืบมา และถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ร่วมกันกับศรัทธา

      วัดบ้านดงหลวงทุกท่าน ที่ได้มีส่วนร่วมในการสืบฮีต สานฮอย งานประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์(สะหลี) อันเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธที่ค่อยๆ เลือนหาย และหาชมได้ยาก อีกทั้ง นับว่าเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่ซอฟเพาเวอร์ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูนให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

     ผมขอชื่นชมและขอขอบคุณวัดบ้านดงหลวง องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เทศบาลตำบลวังผาง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียนวัดบ้านดง และศรัทธาประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่ได้สนับสนุน ส่งเสริม ต่อยอด เพื่อให้เกิดความผาสุกของชุมชนและความยั่งยืนของประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม สืบลูกหลานไปภายหน้าอย่างยั่งยืน สมกับที่ลำพูนเป็นเมืองบุญหลวงแห่งล้านนา และสืบทอดความดีงามของชาวพุทธและชุมชนต่อไป

--------------------------------------------------------------------

ภาพ / ข่าว : นายชนาธิป เมืองมูล ส.ปชส.ลำพูน

บรรณาธิการ : นางสาวมัณฑนา อาษากิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน

ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นางสาวกนกรัตน์ ปัญญา นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar