น่านจัดกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายการให้บริกาส่งเสริม SMEs ในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนให้กับจังหวัดน่าน

       วันที่ 24 เม.ย.2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส จ.น่าน นายกริชชา ฤทัยธนารักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์บริการ SMEs ครบวงจร เป็นประธานในการประชุม โดยมีนางสาว กนกวรพรรณ แสงสุวรรณ ผู้จัดการศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจรจังหวัดน่านพร้อมคณะให้การต้อนรับ แนะนำองค์กร บทบาทหน้าที่ ภารกิจสำคัญในพื้นที่ และเครื่องมือในการให้บริการผู้ประกอบการ พร้อมแนะนำศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร จังหวัดน่าน พร้อมทั้ง หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคี เครือข่าย เข้าร่วม

       สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยมีพันธกิจในการบูรณาการและผลักดันการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สามารถเข้าถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐในมิติของการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดน่าน ในการสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้จัดวิทยากร จากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยา ลัยเชียงใหม่ และฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจ เทคโนโลยีและพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

       กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายการให้บริการส่งเสริม SMEs พื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งเราจะร่วมกัน บูรณาการทำงานร่วมกันในการพัฒนายกระดับศักยภาพ ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการ พัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างรายได้เพื่อความยั่งยืนให้กับจังหวัดน่าน สำหรับการจัดกิจกรรมวันนี้ได้รับการสนับสนุนส่งเสริม จาก สสว. และ หน่วยงานร่วมดำเนินงาน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ในพื้นที่และภูมิภาค เชื่อมโยงสู่ระดับประเทศ ที่จะร่วมกันสนับสนุนธุรกิจ Micro SME และ SME ทำให้เกิดการส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ Micro SME และ SME ซึ่งเป็นภาคธุรกิจส่วนที่สำคัญในพื้นที่ รวมถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจฐาน รากของทั้งประเทศ เพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น หรือเชื่อมโยงกับภาคการผลิตท้องถิ่น หรือชุมชน เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับระบบ และ เป็นกระบวนการธุรกิจ ครอบคลุมตั้งแต่ “ต้นน้ำ” คือ วัตถุดิบ และการผลิต “กลางน้ำ” และกระจายสินค้า “ปลายน้ำ” ทำให้ผู้บริโภคมี “ทางเลือก” สินค้าและบริการมากขึ้น

       โดยมีแพลตฟอร์ม “BDS” (Business Development Service) แพลตฟอร์มที่จะทำหน้าที่เหมือนเป็น E-Marketplace มีบริการครอบคลุม 3 หมวดหมู่ด้วยกัน ทั้งการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด และการพัฒนาตลาดต่างประเทศ มาช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการแบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วน 50–80% สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท ตามขนาดของธุรกิจ

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
บทความยอดนิยม
Tag